วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผักกาดหัว

ขนมผักกาด (ไช้เถ่าก้วย)

ภาษาอังกฤษคือ Radish หรือ White Radish (มักจะสะกดผิดเป็น หัวไชเท้า ที่ถูกต้องก็คือ หัวไช้เท้า) ส่วนหัวไช้เท้า ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Raphanus sativus var. longipinnatus มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน โดยทั่วไปแล้วเจ้าหัวผักกาดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายสีตามไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีแดง สีม่วง สีชมพู และขนาดก็จะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์แยกย่อย (Subspecies)



ขนมผักกาด หรือที่คนจีนเรียก ไช้เถ่าก้วย..   ขนม (อาหาร) จีนโบราณที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ค่อยรู้จักกันนัก นอกจากคนเชื้อสายจีนที่พ่อแม่เคยทำให้ทานตอนเด็กๆ ในช่วงเทศกาลกินเจ หรือเทศกาลอยากกิน (เจ)  แต่ก็มีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่เคยทาน และติดใจในรสชาดของขนมผักกาดที่เป็นแป้งขาวๆ ก้อนสีเหลี่ยมที่เค้านำมาผัดลักษณะเดียวกับผัดไทยบ้านเรา.... แต่ถ้าหากได้ลอง “ขนมผักกาดทรงเครื่อง” แบบโบราณที่จะแนะนำในอีกไม่กี่นาทีนี้.....อาจจะลืมเจ้าก้อนขาวๆ เหลี่ยมๆ ไปเลยก็ได้ค่ะ...ตัวผู้เขียนเองรู้จักไช้เถ่าก้วยตั้งแต่ยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ เพราะเกิดในตระกูลเชื้อสายจีนแต้จิ๋วแท้ๆ และติดใจในรสชาดตั้งแต่ได้ลิ้มรสครั้งแรก...  จนผ่านมาเกือบยี่สิบปีถึงคิดจะสืบทอดฝีมือการทำขนมไช้เถ่าก้วย (ทรงเครื่อง) จากต้นตระกูล เพราะกลัวรสชาดที่ติดปากจะหายไปพร้อมๆ กับกาลเวลา... ถึงตอนนี้ผู้เขียนทำจนเป็นซิกเนเจอร์ของขนมโฮมเมดที่บ้านแล้วค่ะ....ลองทำทานเองในช่วงเทศกาลต่างๆ นะคะ อย่างที่บอกสูตรนี้ได้มาจากต้นตระกูล เพราะฉะนั้นผู้เขียนจะคงส่วนผสม และเครื่องปรุงไว้เดิมๆ หากใครอยากปรับเป็นเจก็เพียงแต่ลดหมู ลดกุ้งลง เปลี่ยนเป็นเผือก ก็จะได้ไช้เถ่าก้วยทรงเครื่อง (เจ) ที่ต้องการค่ะ




สิ่งที่ต้องเตรียม.
- หัวไช้ท้าว ปลอกเปลือกออก ล้างให้สะอาด สไลด์หรือขูดเป็นเส้นๆ ๒ กก. (ขูดแล้ว)
 -หมูสันนอกนุ่มๆ ๑/๒ กก. หั่นเต๋าแล้วหมักทิ้งไว้อย่างน้อย ๑ คืน
 -กุ้งแห้ง ๑ ขีด ล้างสะอาดแล้วต้มน้ำทิ้ง ๑ น้ำ
 -ถั่วลิสงต้ม ๒ ขีด  (แช่น้ำทิ้งไว้ก่อน ๑ คืน จะได้สุกไว)
-เห็ดหอม ๕-๖ ดอก ล้างสะอาด แช่น้ำจนนิ่ม แล้วนำมาหั่นตามยาวบางๆ
 -คึ่นฉ่าย และต้นกระเทียม ๑ กำ ล้างสะอาด ซอยหยาบๆ
-แป้งข้าวเจ้า ๑/๒ กก.
-แป้งมัน ๑-๒ ชต.



เครื่องปรุง
 น้ำตาล ๑ ชต., เกลือ ๑ ชต., พริกไทย ๑ ชต.  (สามารถปรับได้ตามรสชาดที่ต้องการ)
วิธีทำ  (ขั้นตอนนี้แนะนำให้ใส่ถุงมือ เพราะหากไช้ท้าวสัมผัสถูกมือจะแสบเล็กน้อยค่ะ)
๑. เทแป้งข้าวเจ้า และแป้งมันลงในภาชนะทรงกลมค่อนข้างใหญ่ คลุกให้เข้ากัน
๒. ใส่หัวไชท้าวที่ขูดเป็นเส้น (เทน้ำที่ออกมาจากหัวไชท้าวออกให้หมดก่อน) ตามด้วยส่วนผสมที่เหลือทั้งหมดลงไป
๓. ใสเครื่องปรุงทั้งหมดตามลงไป
๔. คลุกเคล้าส่วนผสม และเครื่องปรุงทั้งหมดด้วยสองมือ ขยำเบาๆ จนทุกอย่างเข้ากันดี หากแห้งไปสามารถใช้น้ำที่แช่เห็ดพรมลงไปเล็กน้อย หากมีน้ำที่เกิดจากหัวไชท้าวขณะที่นวด ไม่ต้องตกใจค่ะ
๕. แบ่งใส่ภาชนะตามที่ต้องการ นำไปนึ่งหนึ่งชั่วโมงครึ่ง (เวลาของการนึ่งขึ้นอยุ่กับภาชนะที่นำมาใส่ด้วยค่ะ หากภาชนะลึกหรือใหญ่มากก็ใช้เวลามากหน่อย หากทำทีละน้อย ใส่ถ้วยเล็กๆ ประมาณครึ่งถึงสีสิบห้านาทีก็พอค่ะ) สามารถเช็คว่าสุกได้ที่หรือยังสำหรับคนทำครั้งแรก โดยการใช้ไม้ลูกชิ้น หรือตะเกียบทิ่มดู หากไม่ติดเนื้อขึ้นมาถือว่าใช้ได้แล้วค่ะ)
๖. เมื่อสุกแล้ว ยกออกจากซึ้ง รอจนขนมเย็น แล้วนำเข้าตู้เย็นแช่ช่องธรรมดา ๑ คืน เพื่อให้ขนมฟอร์มตัวพร้อมทานค่ะ



ประโยชน์ของหัวไช้เท้าหรือผักกาดหัว
-หัวไช้เท้าเป็นอาหารที่ดีมาก ตำราจีนกล่าวว่าไช้เท้ามีสรรพคุณในการกระจายสิ่งหมักหมมในร่างกาย
-ละลายเสมหะ แก้พิษ ลดความดัน ขยายหลอดลมและหลอดเลือดจึงควรเป็นอาหารที่อยู่ในเมนูของคนที่ป่วยเป็นโรคหวัด
-หัวผักกาดมีสารลิกนิน (Lignin) ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากความเสื่อมของเซลล์ และมีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ 
-หัวไชเท้ามีสารเควอร์เซทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคและช่วยต่อต้านมะเร็ง
-ช่วยระงับอาการหอบ (เมล็ด)   
-ช่วยในการเจริญอาหาร (ใบ,ทั้งต้น)
-ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย
-ช่วยขยายหลอดลมและหลอดเลือด
-ประโยชน์หัวไชเท้า ช่วยบำรุงโลหิต (ราก)
-ช่วยทำให้หายใจโล่งขึ้น
-แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ราก)
-สรรพคุณหัวไชเท้า ช่วยในการขับและละลายเสมหะ
-แก้อาการไอหอบมีเสมหะมาก (เมล็ด)
-ช่วยเรียกน้ำลาย (ราก)
-แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด (ราก)
-ช่วยรักษอาการต่อมน้ำนมบวม น้ำนมคั่ง (ใบ,ทั้งต้น)
-ช่วยในการกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยในการย่อยอาหาร
-สรรพคุณหัวผักกาดขาว ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย (ใบ,ทั้งต้น)
ฯลฯ

ไปดูวิธีทำกันเลยจ้า...


อ้างอิง
http://frynn.com /หัวไช้เท้า
http://www.oknation.net/







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น